ความผิดปกติของขากรรไกรเกิดขึ้นได้กับทุกคนไหม?

ความผิดปกติกิดขึ้น

ความผิดปกติของ ขากรรไกร สามารถเกิดได้กับทุกคนน่าจะเป็นคำถามที่หลายคนให้ความสนใจ  แต่ขากรรไกรที่ผิดรูป หรือบิดเบี้ยวนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะเกิดการกระตุ้นของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ บริเวณขากรรไกรบ่อย ๆ นั่นเองค่ะ เพื่อเป็นการทำความใจเกี่ยวกับ “ขากรรไกร” ที่มีความผิดปกติต้องแก้ไขอย่างไร ฉันจึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจไว้ในบทความนี้เป็นเรียบร้อยแล้ว หากพร้อมแล้วไปดูได้เลยค่ะ

ขากรรไกรคืออะไร

ขากรรไกรคืออะไร

ขากรรไกรหรือที่เรียกทั่วไปว่า กราม คือ กระดูกหลายชิ้นที่มีข้ออยู่บริเวณช่วงล่างของใบหน้า ประกบกันระหว่างส่วนบน และส่วนล่างของปาก มาเชื่อมต่อกับส่วนกระโหลกศีรษะ โดยมีกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆขากรรไกร เป็นตัวยึดข้อต่อขากรรไกรล่างกับข้อต่อขากรรไกรบน

สาเหตุที่ทำให้ขากรรไกรเกิดความผิดปกติ

สาเหตุที่ทำให้ขากรรไกรเกิดความผิดปกติมีอะไรบ้าง

ขากรรไกรที่มีความผิดปกติ ถือว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อทั้งความรู้สึกภายใน จนกลายเป็นสูญเสียความมั่นใจภายนอกได้ในระยะยาว ซึ่งความผิดปกตินั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยมีสาเหตุหลัก ๆ ที่พบบ่อยดังนี้ 

  • เกิดจากสาเหตุ การเคี้ยวอาหารข้างเดียวเป็นประจำ หรือทานอาหารที่เเข็งมากเกินไปบ่อยครั้ง รวมถึงการนอนกัดฟัน 
  • อาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจส่งผลมาจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะข้อเสื่อมตามช่วงอายุ, เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ
  • เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด บริเวณขากรรไกรส่วนบน และส่วนล่าง
  • เกิดจากการเรียงตัวของฟันซ้อนกันไม่เป็นระเบียบ จนทำให้โครงสร้างใบหน้าดูไม่เป็นธรรมชาติ
  • ความเครียดก็สามารถส่งผล เช่น การกระทบกระเทือนบริเวณกรามอย่างรุนแรง หรือชอบกัดกรามเวลาถูกกดดันบ่อย ๆ ก็อาจส่งผลทำให้ขากรรไกรผิดรูปจนกล้ามเนื้อยื่นออกมามากกว่าปกติได้ค่ะ
ใครบ้างที่เหมาะสำหรับผ่าตัดขากรรไกร

ใครบ้างที่เหมาะสำหรับผ่าตัดขากรรไกร

การผ่าตัดขากรรไกร เป็นการรักษาหรือแก้ไขความผิดปกของขากรรไกรบนใบหน้า รวมไปถึงการเรียงตัวของฟันไม่สม่ำเสมอ เมื่อเรากัดฟันหรือ รับประทานอาหาร ล้วนส่งผลต่อการเคี้ยวอาหารได้ทั้งสิ้น โดยการผ่าตัดขากรรไกรจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการประเมินตามความเหมาะสม ซึ่งคนไข้ที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดขากรรไกรจะมีดังนี้

  • คนที่ขากรรไกรผิดปกติจนทำให้ใบหน้าบิดเบี้ยว
  • คนที่ขากรรไกรยื่นออกมาจนทำให้ปากต้องอ้าตลอดเวลา
  • คนที่มีลักษณะคางยื่น ที่เกิดจากฟันกรามด้านล่างยาวกว่าปกติจนทำให้ได้รับผลกระทบ
  • มีลักษณะคางหดสั้นมาก เนื่องจากขากรรไกรล่างสั้นกว่าปกติ
  • ประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และกลืนอาหารได้ลำบาก
ขากรรไกรค้างหรือกรามค้างเกิดได้อย่างไร

ขากรรไกรค้างหรือกรามค้างเกิดได้อย่างไร

ขากรรไกรหรือกรามค้างเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องบอกตามตรงเลยนะคะ ว่าส่วนมากเกิดจากสาเหตุการเคี้ยวอาหารข้างเดียวเป็นประจำ, ทานอาหารที่เเข็งเกินไป, นอนกัดฟัน ความเครียด, หรือการอ้าปากกว้างเกินไปบ่อยจนติดเป็นนิสัย จะสามารถส่งผลทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวได้นั่นเองค่ะ

  • ลักษณะอาการเบื้องต้น

คือเมื่อคนไข้เริ่มรู้สึกว่าอ้าปากได้น้อยลงกว่าปกติ หรือปิดปากได้ไม่สนิทเท่าที่ควร และมีอาการเจ็บปวดบ่อย ๆ บริเวณหน้า, หู, ขมับ เป็นต้น ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนว่าคนไข้ใกล้เข้าสู่ภาวะขากรรไกร หรือกรามค้างแล้วนะคะ หากเริ่มมีอาการดังกล่าว แนะนำให้คนไข้รีบเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางโดยตรง เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าเดิม

แนวทางการรักษา

  • รับประทานยาลดอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือยาคลายความเครียดตามความเหมาะสม
  • สามารถใส่ฟันยางได้ในกรณีที่กรามค้างจากการนอนกัดฟันเป็นประจำ
  • แนะนำให้หมั่นบริหารขากรรไกรเมื่อมีโอกาส จนเกิดความเคยชิน จะช่วยป้องกันภาวะขากรรไกรค้างได้ค่ะ
ขากรรไกรเบี้ยวหรือกรามเบี้ยวส่งผลอย่างไร

ขากรรไกรเบี้ยวหรือกรามเบี้ยวส่งผลอย่างไร

กรามเบี้ยว เกิดจากความผิดปกติของตำแหน่งขากรรไกรล่าง ไม่สมดุลกับฐานกะโหลกศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งผลทำให้การเรียงตัวของฟันมีความผิดปกติ และอาจทำให้ใบหน้าดูไม่ธรรมชาติ เช่น คางยื่น หรือยาวผิดรูปร่าง ใบหน้าบิดเบี้ยวซ้ายขวาไม่เท่ากัน ฟันหน้าบนยื่นยาวจนปิดปากไม่สนิทสามารถเกิดได้จากทุกกรณี 

โดยอาการผิดปกติเหล่านี้ เป็นผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น การได้รับอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ และใบหน้า รวมไปถึงกรรมพันธ์ุที่ถูกถ่ายทอดต่อกันมา หากใครมีอาการดังกล่าวก็ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ เพราะสามารถรักษาได้โดยใช้วิธีการผ่าตัดขากรรไกร แก้หน้าเบี้ยว หรือผ่าตัดศัลยกรรมโครงหน้า ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ตรงจุด และมีประสิทธิภาพเหมาะกับคนไข้แน่นอนค่ะ 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกรทำอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกร เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนไข้ควรให้ความสำคัญอย่างมากค่ะ เพราะสามารถส่งผลกับคนไข้ทั้งก่อน หรือในระหว่างขั้นตอนการรักษาได้ โดยวิธีการเตรียมตัวที่ถูกต้องก่อนเข้ารับการผ่าตัดมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันได้เลยค่ะ

  • แจ้งประวัติการใช้ยา และอาการแพ้ยาอย่างละเอียด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ตามมา
  • ควรเตรียมสภาพร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งเเรงอยู่ตลอดเวลา หลีกเลี่ยงไข้หวัด หรืออาการอักเสบต่าง ๆ  โดยเฉพาะบริเวณช่องปาก 
  • งดวิตามินที่มีส่วนผสมของน้ำมันทุกชนิด 1 – 2 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัดขากรรไกร เพราะมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
  • งดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างน้อย 1 – 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกร  เพราะสารที่อยู่ในบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้แผลหายช้าได้ค่ะ 
  • ควรงดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัด 6 – 8 ชั่งโมงตามแพทย์สั่ง เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอันตรายอย่าง เศษอาหารปิดช่องทางเดินของระบบหายใจ, การสำลักอาหาร, เนื่องจากส่งผลทำให้ปอดอักเสบได้
  • ถอดฟันปลอม (ชนิดถอดได้) เพื่อป้องกันการหลุดเข้าไปติดหลอดลมขณะทำการผ่าตัด
  • หากมีอาการไอ เจ็บคอ  มีน้ำมูก หรือมีไข้ ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้าก่อนวันผ่าตัด เพื่อพิจารณาเลื่อนวันผ่านตัด ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดขากรรไกร
วิธีการดูแลหลังผ่าตัดขากรรไกรมีอะไรบ้าง

วิธีการดูแลหลังผ่าตัดขากรรไกรมีอะไรบ้าง

ถึงแม้ว่าขั้นตอนการเตรียตัวจะสำคัญ แต่หลังจากผ่าตัดขากรรไกรแล้ว วิธีการดูแลรักษาตัวเองหลังผ่าตัดต่างหากคือของจริง เพราะทุกการกระทำล้วนส่งผลต่อตัวของคนไข้ ยิ่งทำสม่ำเสมอต่อเนื่อง ผลรับที่ตามมาก็จะออกมาดีอย่างแน่นอน แต่ถ้าดูแลรักษาผิดวิธี หรือละเลยคำแนะนำจากแพทย์ก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกันค่ะ โดยวิธีการดูแลรักษาที่แพทย์เน้นย้ำให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมีดังนี้ 

  • หลังจากการผ่าตัด 24 – 48 ชั่วโมง แนะนำให้คนไข้ประคบเย็นด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือเจลเย็น เพื่อลดอาการบวมช้ำได้ค่ะ 
  • หลังจากการผ่าตัด 2 – 3 วันแรก ขณะเข้านอนแนะนำให้ส่วนหัวยกสูงกว่าลำตัว หรือให้นอนหนุนหมอนสูง ไม่ควรนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง เพื่อลดอากการบวม และช่วยให้แผลยุบเร็วขึ้น
  • หลังจากผ่าตัดมาแล้วในช่วง 3 วันแรก คนไข้ควรทำความสะอาดช่องปาก ด้วยการแปลงฟันเบา ๆ และใช้น้ำเกลือบ้วนปากทุกครั้ง หลังรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคภายในช่องปาก
  • คนไข้ควรพักฟื้นร่างกายหลังผ่านการผ่าตัดอย่างน้อย  1 สัปดาห์ เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นค่ะ
  • งดออกกำลังกายหนัก ๆ การมีเพศสัมพันธ์ หรือกิจกรรมที่กระทบกระเทือนบริเวณแผลผ่าตัด ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เนื่องจากอาจทำให้โครงสร้างใบหน้าผิดรูปได้ค่ะ 
  • หลีกเลี่ยงการนอนกดทับบริเวณแผลที่ผ่าตัดมา แนะนำให้นอนหงายหน้าประมาณ 1 เดือน เพื่อป้องกันขากรรไกรผิดรูป
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัด หรืออาหารประเภทหมักดองทุกชนิด แนะนำให้ทานอาหารอ่อน ๆ อย่างเช่น ข้ามต้ม โจ๊ก เป็นต้น เพื่อป้องกันแผลผ่าตัดอักเสบ และแผลหายบวมช้า 
  • ควรรับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งจนหมด หรือกว่าแผลจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันอาการเจ็บปวด หรือบวมช้ำ และแผลติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดขากรรไกรมีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดขากรรไกรมีอะไรบ้าง

ทุกการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยงเป็นของแถม โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อน หรือผลข้างเคียงตามมาได้ คนไข้จึงควรได้รับการเฝ้าดูแลติดตามผลอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษา และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทันเวลา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดขากรรไกรมีดังนี้ 

  • หลังการผ่าตัดบริเวณขากรรไกร อาจเกิดภาวะติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากดูแลแผลไม่สะอาด หรือไม่ถูกวิธี
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการสูญเสียเลือดในปริมาณมาก อาจส่งผลทำให้คนไข้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกอ่อนแรงได้ง่าย 
  • ภาวะแทรกซ้อนจากเส้นประสาทได้รับแรงกระแทกบ่อย ๆ ขณะผ่าตัด จนทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งคนไข้อาจรู้สึกชาบริเวณใบหน้า หรือทั่วร่างกายชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนกลับเป็นปกติค่ะ  
  • ภาวะแทรกซ้อนจากความไม่ชำนาญของแพทย์ อาจทำให้ระหว่างผ่าตัดเกิดความผิดพลาดได้ เช่น กระดูกแตกบริเวณที่ผ่าตัด ขากรรไกรผิดรูป กรามเบี้ยวเอียง เป็นต้น 
  • ผลข้างเคียงด้านจิตใจอย่างภาวะซึมเศร้าที่มักเกิดขึ้นฉับพลันหลังการผ่าตัด
Scroll to Top
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า